วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

คู่มือเตรียมสอบ

ผลงานลูกค้า

เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetchula เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน







1
2
3
4
5
6
7
8



บริการต่างๅ

บริการต่างๆ

บริการต่างๆ



ติดตาม Facebook

ติดตาม Facebook

Youtube

แนวข้อสอบกรมทางหลวงชนบท




รายละเอียดวิชาที่สอบ #
แนวข้อสอบกรมทางหลวงชนบท
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมทางหลวงชนบท
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมทางหลวงชนบท
3 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ สูตรและเทคนิคการจำ
4 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
5 แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
6 การบริหารจัดการภายในสำนักงาน
7 ความรู้เรื่องการบริหารสำนักงานสมัยใหม่
8 ความรู้เรื่องการร่างหนังสือราชการ
9 ความหมายของการบริหาร
10 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
11 แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชุด 1
12 แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชุด 2

+++ อ่านประกาศเพิ่มเติม และลิ้งค์สมัครที่ http://www.งานราชการไทย.com/
+++ กดติดตามรับข้อสอบที่ : http://line.me/ti/p/%40awr8388d
+++ กดถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ
กรมทางหลวงชนบท
ที่ https://www.facebook.com/158273834583112

แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ

ความรู้ทั่วไป

กรมทางหลวงชนบท

กรมทางหลวงชนบท (Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการ ระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการ และกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม (Missing Link) ทางเลี่ยง (By-pass) และทางลัด (Shortcut) รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภารกิจ

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มุ่งปรับปรุงระบบระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม โดยมีการจัดตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้น แต่ได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาล มาตรา 54 ไว้ว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นบังคับใช้แล้ว ให้ถือว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นอันยุบเลิก" ซึ่งจะเป็นผลให้กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียง 5 ปี
ต่อมาภายหลังการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ให้ยกเลิกการยุบกรมทางหลวงชนบท และให้มีภารกิจดำเนินการเช่นเดิม เนื่องจากเป็นนโยบายหลักของทุกรัฐบาล[3]

เครื่องหมายราชการ

สัญลักษณ์ของกรมทางหลวงชนบท คือ องค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นเทพแห่งวิศวกรรมการพัฒนา การก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง ประทับเป็นสง่าบนพระอาสน์ มือขวาถือจอบ มือซ้ายถือลูกดิ่ง เบื้องหลังพระวิษณุแสงสว่างแผ่เป็นรัศมีโดยรอบทั้ง 8 ทิศ แสดงถึงภารกิจของกรมทางหลวงชนบท ครอบคลุมทั้งประเทศ และลายกนก 3 ชั้น ตัดด้วยเส้นสีแดงบนพื้นสีเหลืองทอง หมายถึงประเทศไทย

รายนามอธิบดี

รายนามอธิบดีกรมทางหลวงชนบท
ลำดับรายนามระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์(8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)
2ระพินทร์ จารุดุล(29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 10 เมษายน พ.ศ. 2551)
3สุพจน์ ทรัพย์ล้อม(11 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
4วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์(31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
5ชาติชาย ทิพย์สุนาวี(21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
6ดรุณ แสงฉาย(16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
7พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน(1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน)

โครงสร้างส่วนราชการ

  • สำนักบริหารกลาง[4]
  • กองแผนงาน
  • แขวงทางหลวงชนบท ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักก่อสร้างทาง
  • สำนักก่อสร้างสะพาน
  • สำนักเครื่องกลและสื่อสาร
  • สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 - 15
  • สำนักบำรุงทาง
  • สำนักฝึกอบรม
  • สำนักวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา
  • สำนักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น
  • สำนักสำรวจและออกแบบ
  • สำนักอำนวยความปลอดภัย

สำนักงานทางหลวงชนบท

  1. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทปทุมธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนนทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ
    • แขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา
    • แขวงทางหลวงชนบทอ่างทอง
  2. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 2 (สระบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสระบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทลพบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสิงห์บุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยนาท
  3. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 3 (ชลบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทชลบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทระยอง
    • แขวงทางหลวงชนบทจันทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทตราด
  4. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์
    • แขวงทางหลวงชนบทราชบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร
  5. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 5 (นครราชสีมา)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยภูมิ
    • แขวงทางหลวงชนบทบุรีรัมย์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุรินทร์
  6. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 6 (ขอนแก่น)
    • แขวงทางหลวงชนบทขอนแก่น
    • แขวงทางหลวงชนบทเลย
    • แขวงทางหลวงชนบทมหาสารคาม
    • แขวงทางหลวงชนบทร้อยเอ็ด
  7. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทศรีสะเกษ
    • แขวงทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ
    • แขวงทางหลวงชนบทยโสธร
  8. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 8 (นครสวรรค์)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครสวรรค์
    • แขวงทางหลวงชนบทอุทัยธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทตาก
    • แขวงทางหลวงชนบทกำแพงเพชร
    • แขวงทางหลวงชนบทพิจิตร
  9. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 9 (อุตรดิตถ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุตรดิตถ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุโขทัย
    • แขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบูรณ์
  10. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 10 (เชียงใหม่)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงใหม่
    • แขวงทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำพูน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำปาง
    • แขวงทางหลวงชนบทแพร่
  11. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุราษฎร์ธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครศรีธรรมราช
    • แขวงทางหลวงชนบทชุมพร
    • แขวงทางหลวงชนบทระนอง
  12. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 12 (สงขลา)
    • แขวงทางหลวงชนบทสงขลา
    • แขวงทางหลวงชนบทสตูล
    • แขวงทางหลวงชนบทยะลา
    • แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนราธิวาส
  13. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 13 (ฉะเชิงเทรา)
    • แขวงทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา
    • แขวงทางหลวงชนบทนครนายก
    • แขวงทางหลวงชนบทปราจีนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสระแก้ว
  14. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 14 (กระบี่)
    • แขวงทางหลวงชนบทกระบี่
    • แขวงทางหลวงชนบทพังงา
    • แขวงทางหลวงชนบทภูเก็ต
    • แขวงทางหลวงชนบทตรัง
    • แขวงทางหลวงชนบทพัทลุง
  15. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 15 (อุดรธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุดรธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองบัวลำภู
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย
    • แขวงทางหลวงชนบทบึงกาฬ
  16. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 16 (กาฬสินธุ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสกลนคร
    • แขวงทางหลวงชนบทนครพนม
    • แขวงทางหลวงชนบทมุกดาหาร
  17. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 17 (เชียงราย)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงราย
    • แขวงทางหลวงชนบทพะเยา
    • แขวงทางหลวงชนบทน่าน
  18. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 18 (สุพรรณบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทกาญจนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครปฐม

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบกรมทางหลวงชนบท
ในการสอบเข้ากรมทางหลวงชนบท การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน  แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.  ซึ่งในการสอบจะมีวิชาความสามารถทั่วไปเพิ่มเข้ามาด้วย  การสอบเข้ากรมทางหลวงชนบท จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60

การเตรียมตัวสอบ
ความสามารถทั่วไป  ให้หาข้อสอบเก่ามาลองฝึกดู  aptitude test มีหนังสือขายหรือไม่ก็ลองหาออนไลน์มาทำดู เอาแบบที่มีเฉลยวิธีทำจะได้เข้าใจในหลักการ ปกติจะมีพาร์ทการคำนวน ภาษาและตรรกะ ถ้าเวลาเตรียมตัวน้อยให้เน้นไปที่ส่วนถนัดไว้ก่อน ถ้ามีเวลามากก็ให้เน้นทำส่วนที่เราไม่ถนัด
ภาษาอังกฤษ (สำหรับบางหน่วยงาน) ส่วนใหญ่ถ้าเป็น choice ก็ grammar เลย หนังสือม.ปลาย หรือ toeicก็ได้ ถ้าเป็นหน่วยงานที่ใช้ภาษาเยอะ ก็จะมีข้อสอบอัตนัยให้เขียนเรียงความหรือตอบข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ
ในส่วนการสอบภาค  ข. ควรอ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี  วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
นอกจากนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   และควรจัดเวลาตอนทำข้อสอบให้ดี อ่านแล้วตอบได้ให้่ทำไปก่อนจนหมดชุด แล้วจึงกลับมาทำรอบสองซึ่งเป็นข้อที่ต้องคิดนิด ๆ ส่วนรอบสามเป็นข้อยากที่จะต้องคิดให้มาก
การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด  คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ  เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้   วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี  กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ

วิชาที่ใช้สอบ   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )  โดยการสอบข้อเขียน ในบางตำแหน่งจะมีการทดสอบปฏิบัติ เช่น นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง

รายละเอียดวิชาที่สอบ
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป กรมทางหลวงชนบท
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมทางหลวงชนบท
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมทางหลวงชนบท
3 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ สูตรและเทคนิคการจำ
4 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
5 แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
6 การบริหารจัดการภายในสำนักงาน
7 ความรู้เรื่องการบริหารสำนักงานสมัยใหม่
8 ความรู้เรื่องการร่างหนังสือราชการ
9 ความหมายของการบริหาร
10 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
11 แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชุด 1
12 แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชุด 2

ตำแหน่งที่สอบ
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
นายช่างเครื่องกล
นายช่างโยธา
วิศวกรโยธา